- หมายถึง โอกาสที่จะประสบกับความเสียหายหรือสิ่งไม่พึงประสงค์ ความเสี่ยงหรือความสูญเสียในโรงพยาบาลมี 7 ประการ ( Risk heptagon)
- หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นแล้วนอกเหนือความคาดหมายและ/หรือก่อให้เกิดความสูญเสีย
- หมายถึง อุบัติการณ์ที่ไม่คาดคิดซึ่งนำไปสู่การตายหรือบาดเจ็บรุนแรงต่อร่างกาย หรือจิตใจ หรือความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติการณ์ดังกล่าว
- คือ เป็นการปฏิบัติที่กระทำต่อหรือยังไม่ได้ปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย แต่อันตรายดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้น อันเป็นผลจากโอกาส/โชค(เช่น ผู้ป่วยได้รับยาที่มีข้อห้ามในการใช้สำหรับผู้ป่วย แต่ไม่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ด้านยานั้น) หรือเป็นผลจากการป้องกัน (เช่น มีการสั่งจ่ายยาในขนาดที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่เภสัชกร/พยาบาล สามารถตรวจพบได้ก่อนที่จะบริหารยาให้ผู้ป่วยหรือเป็นผลจากการบรรเทา
- คือ การกระทำหรือละเว้นการกระทำซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย แต่ไม่เกิดอันตรายเนื่องจากความบังเอิญ การป้องกัน หรือการทำให้ปัญหาทุเลาลง
ระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติการณ์ แบ่งเป็น 9 ระดับ ดังนี้
- ไม่มีความคลาดเคลื่อน แต่มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน
- เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น แต่ไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหายเนื่องจากความคลาดเคลื่อนยังไม่ถึงผู้มารับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และองค์กร
- เกิดความคลาดเคลื่อน แต่ไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหายถึงแม้ว่าความคลาดเคลื่อนนั้นจะไปถึงผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และองค์กรแล้ว และองค์กรหรือมีความเสียหายมูลค่าไม่เกิน 1,000 บาท
- เกิดความคลาดเคลื่อน แต่ไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหาย แต่ต้องมีการเฝ้าระวังเพื่อให้มั่นใจว่าไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหายต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และองค์กรหรือมีความเสียหายมูลค่ามากกว่า 1,000 บาทแต่ไม่เกิน 5,000 บาท
- เกิดความคลาดเคลื่อน ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงานและองค์กร ต้อง ได้รับการรักษา/แก้ไขเพิ่มเติมหรือมีความเสียหายมากกว่า 5,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
- เกิดความคลาดเคลื่อน เกิดอันตรายชั่วคราวต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ใช้เวลาแก้ไขนานขึ้นหรือมีความเสียหายมูลค่ามากกว่า 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 50,000
- เกิดความคลาดเคลื่อน เกิดอันตรายถาวรต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และองค์กรหรือมีความเสียหายมูลค่ามากกกว่า 50,000 บาทแต่ไม่เกิน 80,000 บาท
- เกิดความคลาดเคลื่อน เกิดอันตรายเกือบถึงชีวิตต่อผู้รับบริการ ต้องทำการช่วยชีวิต เกิดความเสียหายต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน และองค์กรต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน (CPR)หรือมีความเสียหายมูลค่ามากกว่า 80,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- เกิดความคลาดเคลื่อน เกิดอันตรายจนถึงชีวิตต่อผู้รับบริการ เกิดความเสียหายจนแก้ไขไม่ได้ ต่อผู้รับบริการ เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงานและทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกฟ้องร้องทางสื่อ ทางกฎหมายหรือมีความเสียหายมูลค่ามากกว่า 100,000 บาท
การค้นหาความเสี่ยงเชิงรุก ได้แก่
1. ประสบการณ์ของบุคคล
2. การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น ,จากการค้นคว้า,จากแหล่งข้อมูลข่าวสารภายนอก
3. การเรียนรู้ในระหว่างการทำงาน
4. จากการวิเคราะห์กระบวนการหลักของหน่วยงาน ( Top Down Flow chart)
5. จากการเยี่ยมสำรวจ เช่น IC,RSM,ENV Round
การค้นหาความเสี่ยงเชิงรับ ได้แก่
1. ค้นหาจากกระบวนการดูแลผู้ป่วย
2. ทบทวนเวชระเบียน
3. ระบบบันทึกข้อมูลของโรงพยาบาลที่มีอยู่แล้ว
4. ระบบบันทึกข้อมูลที่ควรนำมาใช้ในการค้นหาความเสี่ยงของหน่วยงาน
5. ประสบการณ์ของสมาชิกในหน่วยงาน
6. ตู้รับความคิดเห็นข้อเสนอแนะ
7. คำร้องเรียนของผู้ป่วย
8. เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น เช่น จากการค้นหาวราสารวิชาการ / Internet, การติดตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์
9. การสำรวจสิ่งแวดล้อม
10. เรียนรู้ระหว่างทำงาน (การรายงานอุบัติการณ์)
รายการความเสี่ยงที่ค้นหาได้ อาจรวบรวมไว้ในบัญชีรายการความเสี่ยงของหน่วยงานหรือตารางเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสำคัญของความเสี่ยง
อาจจัดหมวดหมู่ของความเสี่ยงเพื่อจะได้ค้นหาได้ครอบคลุม เช่น ด้านอันตรายต่อผู้ป่วย ด้านอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านข้อมูลข่าวสาร
การจัดการความเสี่ยงก่อนเกิดเหตุ
โดยรายการความเสี่ยงที่มีระดับความสำคัญสูง และปานกลาง ต้องมีแผนการจัดการความเสี่ยง ทุกรายการ
1) หลีกเลี่ยงความเสี่ยง
2) ถ่ายโอนความเสี่ยง
3) การแบ่งแยกความเสี่ยง
4) การป้องกันความเสี่ยง
- การปกป้อง การใช้เครื่องป้องกัน
- การมีระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันและมาตรฐานเกี่ยวกับเครื่องมือ
- การมีระเบียบปฏิบัติและวิธีปฏิบัติในการทำงาน
- การควบคุมกำกับ
- การให้ความรู้ ทักษะแก่เจ้าหน้าที่
1) แนวทางป้องกัน การจัดระบบป้องกันความผิดพลาด
- การเตรียมคน
- การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ
- การเตรียมข้อมูลข่าวสาร
- วิธีปฏิบัติงานที่รัดกุม
- การควบคุมกระบวนการ
2) แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหา
- การตรวจพบปัญหา จะตรวจพบปัญหาให้เร็วที่สุดได้อย่างไร โดยใคร เป็นการจัดการวิธีค้นหาความผิดพลาดเหล่านั้นให้ปรากฏเพื่อเราจะได้หยุดได้ทัน
- การลดความเสียหาย จะแก้ปัญหาอย่างไร โดยใคร เป็นการจัดระบบที่ลดความรุนแรงของความเสียหายเมื่อความผิดพลาดดังกล่าวไม่สามารถหยุดได้ทัน
- การรายงาน ควรรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงระดับใด วิธีใด
การจัดการความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุ
- เมื่อสถานการณ์ความเสี่ยงเกิดขึ้น ให้ผู้ประสบเหตุ เข้าระงับเหตุทันที ถ้าไม่สามารถระงับเหตุได้ แจ้งหัวหน้าหน่วยงานทันที เฉพาะเหตุที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทันที
- กรณีหัวหน้าฝ่ายงาน ระงับเหตุไม่ได้ ให้รายงานแพทย์เวรหรือแพทย์เจ้าของไข้ พิจารณาสั่งการระงับเหตุทางการแพทย์ หรือให้รายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป พิจารณาสั่งการระงับเหตุด้านอื่น ๆ
- ผู้ประสบเหตุ เป็นผู้เขียนบันทึกอุบัติการณ์ รายงานหัวหน้าหน่วยงานทราบภายใน 24 ชั่วโมง
- กรณีมีผู้ประสบเหตุหลายคน ให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าเวร เป็นผู้เขียนบันทึก
- กรณีเป็นคำร้องเรียน ผู้รับคำร้องเรียนเป็นผู้เขียนบันทึกอุบัติการณ์
- กรณีเป็นเรื่องที่อาจเกิดการฟ้องร้องหรือเสื่อมเสียชื่อเสียงของโรงพยาบาลหรือบุคคล ให้รายงานด้วยใบบันทึกอุบัติการณ์และเก็บรักษาในที่ปลอดภัย
- กรณีเหตุการณ์รุนแรงระดับGHIขึ้นไปหรือเป็นเหตุการณ์ที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ให้มีการรายงานด้วยวาจาก่อนทันทีที่ทำได้ กรณีอุบัติการณ์มีความรุนแรงสูง ให้รายงานผู้อำนวยการทันที
- อุบัติการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรทั้งที่มีมาตรการป้องกันแล้ว
- อุบัติการณ์นี้มีสาเหตุจากระบบหรือไม่ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกได้หรือไม่
- สาเหตุราก หรือ รากเหง้าของปัญหา คืออะไร
- การทบทวนว่ากลยุทธ์ที่ใช้อยู่นั้นได้ผลดีหรือไม่ โดยการติดตามแนวโน้มของการเกิดอุบัติการณ์ การเกิดซ้ำ ความรุนแรง ติดตามแผนการแก้ไขปรับปรุงตามสาเหตุราก และตรวจสอบว่า มาตรการที่ใช้ป้องกัน เหมาะสมหรือไม่
- ตรวจสอบความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
- การประเมินผลเป็นการสะท้อนกลับ( feedback) ซึ่งจะก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หรือการแก้ไขกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว
- การหาสาเหตุราก